แต่งบ้านให้เหมาะกับทุกฤดู

บ้านเรานั้นแม้จะร้อนชื้นเป็นหลัก แต่ก็มีเรื่องของความแตกต่างของฤดูกาลให้ต้องคำนึงถึงด้วย แต่อย่างไรให้เหมาะกับช่วงอากาศต่างๆ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

หลายท่านคงทราบดีว่า อากาศในบ้านเรานั้นแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละฤดู แล้วควรจะแต่งบ้านอย่างไรให้เหมาะกับอากาศทั้ง 3 ฤดู อย่างเช่น ดูหนาวอากาศเย็นและแห้ง ในฤดูร้อนแดดจัดจ้านอุณหภูมิสูง ส่วนในฤดูใบไม้ผลิของไทย อยู่ในช่วงรอยต่อฤดูร้อนกับฤดูฝนที่ทั้งร้อนและชื้น ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้ในที่บ้านของเรา จนทำให้คนรักบ้านทั้งหลายสับสนว่าควรจัดบ้านให้เหมาะกับฤดูไหนที่สุดกันแน่

แบบนี้เรามาแก้ปัญหากันด้วยการจัดบ้านให้ได้ทั้ง 3 ฤดูไปเลย ซึ่งวิธีง่ายๆ มี 2 แบบด้วยกันคือ

สไตล์ที่ 1 : จัดแบบบ้านหลังใหญ่ 3 ห้อง 3 ฤดู

เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่ ที่มีห้องนั่งเล่นมากมาย แบ่งโซนให้กับฤดูกาลด้วยการเลือก 1 ห้องต่อ 1 ฤดู

ห้องพักผ่อนช่วงฤดูหนาว : ห้องพักในฤดูหนาว ควรมิดชิดเพื่อป้องกันอากาศแห้งและหนาวเย็นเข้าสู่ตัวบ้านได้มาก และกรณีที่หนาวจัด ควรสามารถปิดห้องได้สนิทเพื่อใช้เครื่องทำความอุ่นในห้องได้ หากมีห้องทางทิศตะวันตก เลือกห้องนี้เพื่อรับอากาศอุ่นจัดในบ่ายเก็บไว้จะช่วยไม่ให้ห้องเย็นเกินไปในตอนกลางคืน

ห้องฤดูหนาวใช้เฟอร์นิเจอร์ได้ตามสะดวก แต่ควรเลี่ยงพื้นประเภทซีเมนต์ และเฟอร์นิเจอร์ที่มีเหล็ก เพราะจะรู้สึกเย็นจัดเมื่อสัมผัสในฤดูหนาว และเลี่ยงการใช้หน้าต่างกว้างเกินไป เพราะอากาศเย็นและแห้งทำให้ไม่สบายได้ง่าย

ห้องพักผ่อนในช่วงฤดูร้อน : เลือกทิศตะวันออก รับแสงอาทิตย์ช่วงเช้า และเป็นจุดไม่รับแดดตอนบ่ายเพื่อให้ห้องอยู่สบาย ไม่มีแสงแดดจ้าหรือร้อนจัดเกินไป

การตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ เลือกสีใกล้เคียงธรรมชาติ เช่น สีไม้ น้ำตาล เบจ เทา เพื่อเลี่ยงสีโทนร้อนที่อาจเพิ่มความรู้สึกอบอ้าว ใช้ร่วมกับสีสันเฟอร์นิเจอร์ในโทนธรรมชาติ เช่น เขียว ฟ้า ขาว ได้ จะช่วยให้เป็นซัมเมอร์ที่สบายใจ

ในห้องนี้อย่าลืมอุปกรณ์ช่วยปรับอากาศ เช่น พัดลม แอร์คอนดิชันเนอร์ หรือช่องหน้าต่างให้มากๆ เพื่อระบายอากาศร้อนอบอ้าวที่เข้ามาให้ออกไปได้หมด ไม่ทำให้บ้านร้อน แค่นี้ก็อยู่สบายแล้วค่ะ

ห้องพักผ่อนในฤดูใบไม้ผลิ : ช่วงเวลาที่จะเปิดรับเอากลิ่นดอกไม้ กลิ่นฝน ความรู้สึกสดชื่นของฤดูใบไม้ผลิ ขณะเดียวกัน อาจจะมีฝนหลงฤดูมาด้วย ดังนั้นห้องพักผ่อนในฤดูนี้ควรมีจุดรับแสงแดดแบบรำไรให้ดอกไม้ประดับสวยๆ ขณะเดียวกันก็มีหลังคาหรือกันสาดที่ป้องกันฝนได้อย่างดี จึงจะทำให้อยู่สบายไม่มีปัญหา

สีสันห้องฤดูนี้ใช้ได้ทุกสี แต่โทนสีสดใสแบบดอกไม้หน้าร้อนจะเข้ากันได้ดี และสร้างชีวิตชีวาอย่างมาก ส่วนเฟอร์นิเจอร์หลีกเลี่ยงที่เป็นไม้จริงในจุดที่โดนฝนเพราะอาจทำให้เสียหายหรือผุพังได้ง่าย

สไตล์ที่ 2 : จัดแบบ 3 ฤดูในห้องเดียว

สำหรับคุณๆ ที่สร้างห้องนั่งเล่นใหญ่ๆ ไว้เพียงห้องเดียว ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำบ้าน 3 ฤดู ขอเพียงให้รู้สึกสนุกที่จะปรับเปลี่ยนบ้านในช่วงเข้าฤดูแต่ละช่วงเท่านั้นเอง

การออกแบบสถานที่ เลือกแปลนที่ใช้ได้ทุกฤดู หลักๆ คือ มีช่องแสงมากพอให้อาการถ่ายเทได้ดี มีช่องแสงให้สว่าง ไม่ต้องเปิดไฟให้เปลืองพลังงานในตอนกลางวัน มีจุดนั่งเล่นที่ไม่โดดแดดโดยตรง, ไม่โดดฝนสาดเข้ามา, และมิดชิดเพื่อใช้เป็นหลักในช่วงฤดูหนาว
เฟอร์นิเจอร์ในห้อง แนะนำเลือกแบบประเภทเคลื่อนที่ได้ ไม่ต้องทำแบบบิวท์อิน (Build-In) เพื่อสามารถจัดอิสระได้ตามแต่ฤดูกาล
เมื่อมีห้องที่พอใจแล้ว สนุกกับการเปลี่ยนเปลี่ยนลุคของห้องให้เข้ากับฤดูต่างๆ แบบง่ายๆ ได้แก่

เติมสีสันที่เหมาะเข้าไป : เช่น ใช้สีผ้าม่าน สีผ้าคลุมโต๊ะ โซฟา ด้วยสีโทนเย็นในฤดูร้อน เมื่อเปลี่ยนเป็นสีอบอุ่นในฤดูหนาวเติมสีสันคัลเลอร์ฟูลในช่วงใบไม้ผลิ เป็นต้น

เลือกเฟอร์นิเจอร์ประจำฤดู : เช่น เปลี่ยนชุดผ้าม่านบางเบา สีขาวสะอาดในฤดูร้อน เพื่อกรองแสงจ้าแต่ไม่กีดขวางทางระบายลม ส่วนในหน้าหนาวเลือกผ้าม่านแบบหนา หนัก เพื่อปกป้องความเย็น และในฤดูฝนให้เลือกเติมม่านมู่ลี่กันฝนหรือติดกระจกสวยๆ แทน เป็นต้น

ตกแต่งหน้าต่าง ปรับทิศทางลม : เพราะอากาศเป็นตัวบ่งชี้ฤดูกาล ในหน้าร้อนหากทนไม่ไหว อาจใช้กระจกกรองแสง ลดความร้อนและยังมองเห็นข้างนอกเมื่อปิดสนิทแล้วเปิดแอร์ หรือใช้หน้าต่างแบบบานเกล็ดในฤดูหนาวเพื่อกรองไม่ให้ความเย็นเข้าถึงบ้านแบบตรงๆ เป็นต้น

ปรับเปลี่ยนโคมไฟในแต่ละฤดู : ฤดูหนาวเหมาะกับแสงไฟวอร์มไลท์ (Warm Light) ที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่น สร้างบรรยากาศโรแมนติกได้ด้วย ส่วนฤดูร้อนเหมาะกับแสงนวลๆ สีขาว ไม่สร้างความรู้สึกอบอ้าว และในฤดูใบไม้ผลิแสงธรรมชาติจะสวยงามและเหมาะสมที่สุด

ลวดลายผนัง : หากไม่เบื่อที่จะตกแต่งและสนุกกับการเปลี่ยนพื้นผิว ปัจจุบันมีวอลเปเปอร์ชนิดติดได้ง่าย ช่วยปรับเปลี่ยนบรรยากาศได้ในพริบตา ซึ่งหาซื้อจากร้านค้าออนไลน์หรือสั่งช่างมาติดให้ที่บ้านได้ตามความชอบเช่นกัน



สนใจเรียกแม่บ้าน โหลดเลย 

Download Application : คลิก !

สอบถามรายละเอียดการเรียกแม่บ้าน  Add Line : @beeclean หรือ คลิก!